ชินลง
หรือ ชินโลน (chinlone) เป็นกีฬาโบราณของประเทศพม่า
ที่ได้บรรจุในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์
ครั้งที่ 27 ปี พ.ศ. 2556
ซึ่งประเทศพม่าได้เปิดบ้านเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน มีการแข่งขันชิงชัยถึง 8 เหรียญทอง และในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ปี พ.ศ. 2558 ณ ประเทศสิงคโปรค์ ก็มีการชิงชัยในกีฬาชินลงถึง 4 เหรียญทอง ซึ่งประเทศไทยคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง จากการแข่งขันประเภท non-repetition primary ชาย และ 1 เหรียญเงินจากการแข่งขัน ประเภท Same Stroke
กีฬา ชินลง จัดเป็นกีฬาตะกร้อ ชนิดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมร่วมกันในภาคพื้นอุษาคเนย์มาหลายร้อยปี ก่อนจะปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นและชื่อเรียกไปตามศิลปะและวัฒนธรรมพื้นถิ่นของแต่ละประเทศ เช่น “เซปัก-รากา ในมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย” “สีปา ในฟิลิปปินส์” “กะต้อในลาว” "ตะกร้อวง ในไทย" และได้มีการพัฒนามาเป็นเกมส์การแข่งขันเล่นข้ามตาข่ายเรียกว่า "เซปักตะกร้อ"
ชินลง มีความคล้ายกับ ตะกร้อวงลวดบ่วงของไทย แต่จะมีตัวเอก หรือเรียกว่า "มินตา" เข้ามาเล่นโชว์ลีลากลางวง โดยมีหน้าที่หลักในการคอนโทรลเกม ไม่ให้ลูกตาย แม้ดูเหมือนง่าย แต่ศิลปะการเล่นและท่วงลีลาในแต่ละท่าต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างมาอย่างดี แผงด้วยทักษะ ความสมดุล และความสามัคคีของผู้เล่นทุกคนในทีม ที่จะคอยผลัดกันมาเป็น "มินตา" โดยท่าของชินลงนั้นมีมากกว่า 200 ท่า
กติกาในการแข่งขันกีฬาชินลง 1 ทีมจะมีผู้ล่นจำนวน 6 คน และจะใช้ท่าพื้นฐาน 6 ท่า ได้แก่ หลังเท้า, หน้าเท้า, เข่า, ฝ่าเท้า, ส้นเท้า และข้างเท้า
โดยจะมีวิธีการคิดคะแนน เบื้องต้นแต่ละประเภทการแข่งขัน ดังนี้
1. ประเภทท่าพื้นฐาน 6 คน แต่ละคนจะเตะคนละ 1 ท่าพื้นฐาน สลับหมุนเวียนกันจนครบ 6 ท่าจึงจะได้ 1 คะแนน
2. ประเภทท่าเดียว 6 คน แต่ละคนจะเตะท่าเดียวกันครบ 6 คน ได้ 1 คะแนน
3. ประเภทคนเดียว 6 ท่า แต่ละคนจะต้องเตะท่าพื้นฐานคนละ 6 ท่า จึงจะได้ 1 คะแนน
4. ประเภทท่ายาก 6 คน แต่ละคนจะเตะท่ายากคนละ 1 ท่าสลับหมุนเวียนกันจนครบ 6 ท่าจึงจะได้ 1 คะแนน
โดยทุกประเภทจะแข่งขันครั้งละ 2 ทีม มีกำหนดเวลาเซทละ 30 นาที ทีมที่จะทำคะแนนทั้ง 3 เซท ชนะ 2 ใน 3 จะถือเป็นผู้ชนะ
ความยากของกีฬาชินลง ก็คือการใช้ความเร็วผสานกับความชำนาญที่ต้องทำแต้มให้ได้มากที่สุด
ซึ่งประเทศพม่าได้เปิดบ้านเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน มีการแข่งขันชิงชัยถึง 8 เหรียญทอง และในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ปี พ.ศ. 2558 ณ ประเทศสิงคโปรค์ ก็มีการชิงชัยในกีฬาชินลงถึง 4 เหรียญทอง ซึ่งประเทศไทยคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง จากการแข่งขันประเภท non-repetition primary ชาย และ 1 เหรียญเงินจากการแข่งขัน ประเภท Same Stroke
กีฬา ชินลง จัดเป็นกีฬาตะกร้อ ชนิดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมร่วมกันในภาคพื้นอุษาคเนย์มาหลายร้อยปี ก่อนจะปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นและชื่อเรียกไปตามศิลปะและวัฒนธรรมพื้นถิ่นของแต่ละประเทศ เช่น “เซปัก-รากา ในมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย” “สีปา ในฟิลิปปินส์” “กะต้อในลาว” "ตะกร้อวง ในไทย" และได้มีการพัฒนามาเป็นเกมส์การแข่งขันเล่นข้ามตาข่ายเรียกว่า "เซปักตะกร้อ"
ชินลง มีความคล้ายกับ ตะกร้อวงลวดบ่วงของไทย แต่จะมีตัวเอก หรือเรียกว่า "มินตา" เข้ามาเล่นโชว์ลีลากลางวง โดยมีหน้าที่หลักในการคอนโทรลเกม ไม่ให้ลูกตาย แม้ดูเหมือนง่าย แต่ศิลปะการเล่นและท่วงลีลาในแต่ละท่าต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างมาอย่างดี แผงด้วยทักษะ ความสมดุล และความสามัคคีของผู้เล่นทุกคนในทีม ที่จะคอยผลัดกันมาเป็น "มินตา" โดยท่าของชินลงนั้นมีมากกว่า 200 ท่า
กติกาในการแข่งขันกีฬาชินลง 1 ทีมจะมีผู้ล่นจำนวน 6 คน และจะใช้ท่าพื้นฐาน 6 ท่า ได้แก่ หลังเท้า, หน้าเท้า, เข่า, ฝ่าเท้า, ส้นเท้า และข้างเท้า
โดยจะมีวิธีการคิดคะแนน เบื้องต้นแต่ละประเภทการแข่งขัน ดังนี้
1. ประเภทท่าพื้นฐาน 6 คน แต่ละคนจะเตะคนละ 1 ท่าพื้นฐาน สลับหมุนเวียนกันจนครบ 6 ท่าจึงจะได้ 1 คะแนน
2. ประเภทท่าเดียว 6 คน แต่ละคนจะเตะท่าเดียวกันครบ 6 คน ได้ 1 คะแนน
3. ประเภทคนเดียว 6 ท่า แต่ละคนจะต้องเตะท่าพื้นฐานคนละ 6 ท่า จึงจะได้ 1 คะแนน
4. ประเภทท่ายาก 6 คน แต่ละคนจะเตะท่ายากคนละ 1 ท่าสลับหมุนเวียนกันจนครบ 6 ท่าจึงจะได้ 1 คะแนน
โดยทุกประเภทจะแข่งขันครั้งละ 2 ทีม มีกำหนดเวลาเซทละ 30 นาที ทีมที่จะทำคะแนนทั้ง 3 เซท ชนะ 2 ใน 3 จะถือเป็นผู้ชนะ
ความยากของกีฬาชินลง ก็คือการใช้ความเร็วผสานกับความชำนาญที่ต้องทำแต้มให้ได้มากที่สุด
No comments:
Post a Comment